วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ชิราชิซูชิ (Chirashi Sushi)

ชิราชิซูชิ (Chirashi Sushi)



ชิราชิซูชิ (Chirashi Sushi)
ซูชิประเภทนี้ชาวไทยรู้จักกันในนาม “ข้าวหน้าปลาดิบ” แต่อันที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นปลาดิบก็ได้ หัวใจสำคัญคือการใช้ข้าวซูชิ หรือข้าวสวยคลุกน้ำส้มใส่ชามไว้ แล้วเลือกท้อปปิ้งด้วยเนื้อปลาชนิดต่างๆ หลากหลายประเภทตามแต่พื้นที่ ไข่หวาน อะโวคาโด หรือผักต่างๆ ตามชอบ
 

เตมากิซูชิ (Temaki Sushi)

เตมากิซูชิ (Temaki Sushi)




เตมากิซูชิ (Temaki Sushi)
ซูชิประเภทนี้มีความคล้ายคลึงกับมากิซูชิ แต่จะต่างกันตรงที่เชฟจะห่อข้าวซูชิและไส้ต่างๆ ด้วยสาหร่ายกรอบให้เป็นรูปกรวย เพื่อให้ถือรับประทานได้ง่าย เป็นที่มาของคำว่า Temaki (Te แปลว่า มือ) และในภาษาอังกฤษจะเรียกมากิชนิดนี้ว่า Hand Roll หรือซูชิโรลมือถือนั่นเอง

โอชิซูชิ (Oshi Sushi)

โอชิซูชิ (Oshi Sushi)



โอชิซูชิ (Oshi Sushi)
ซูชิกดในแบบคันไซ ซึ่งจะนำเอาข้าวซูชิและปลาดิบเรียงลงในกล่องแล้วกดทับให้แน่น หน้าตาโอจิซูชิอาจดูคล้ายกับนิกิริซูชิ แต่จะต่างกันที่กรรมวิธีการทำ ที่จะใช้การกดข้าวให้แน่นแทนการปั้น ซูชิจะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม เพราะเกิดจากการอัดเป็นแท่งยาวแล้วถูกตัดแบ่งให้เป็นชิ้นพอดีคำ
 

นาเระซูชิ (Nare Sushi)

นาเระซูชิ (Nare Sushi)





นาเระซูชิ (Nare Sushi)
นาเระซูชิถือเป็นต้นกำเนิดของซูชิทั้งมวล โดยเป็นการนำปลา ข้าวสวย และเกลือมาหมักจนเกิดข้าวหมักและปลารสเปรี้ยว ซึ่งวิธีการหมักปลาเช่นนี้ ว่ากันว่าได้รับอิทธิพลมาจากอาหารบริเวณลุ่มน้ำโขงเรานี่เอง (ใกล้เคียงกับปลาส้ม) ปัจจุบัน นาเระซูชิที่ยังพบเห็นอยู่ ได้แก่ ฟุนะซูชิ ซึ่งจะใช้ปลาฟุนะหมักกับข้าว แม้จะมีกลิ่นเหม็นมาก แต่ถือเป็นอาหารหรู ราคาแพงไปแล้วในปัจจุบัน

นิกิริซูชิ (Nigiri Sushi)


นิกิริซูชิ (Nigiri Sushi)




นิกิริซูชิ (Nigiri Sushi)
ซูชิที่พวกเราคุ้นเคยกันมากที่สุด ใช้ข้าวผสมกับน้ำส้มสายชูปั้นเป็นก้อนรีแล้ววางเนื้อปลาไว้ด้านบน อาจป้ายวาซาบิไว้ที่เนื้อปลาเพื่อเพิ่มรสชาติ หัวใจหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับนิกิริซูชิที่ดี ปริมาณข้าว รสชาติข้าว วาซาบิหรือซอสต่างๆ และปริมาณเนื้อปลาต้องสมดุลกัน เพื่อรสชาติที่ดีที่สุด ถือเป็นศาสตร์การปรุงอาหารที่ต้องฝึกฝนอย่างยาวนาน